วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

ละครวันคริสต์มาส
คริสต์มาส
วันคริสต์มาส
คริสต์มาสวันคริสต์มาส
ฉากการประสูติของพระเยซู
ชื่ออื่นNoël, การประสูติของพระเยซูXmasYule
ลัทธิศาสนาคริสต์ศาสนิกชนs
ผู้นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก[1][2]
ประเภทศาสนาคริสต์, วัฒนธรรม
ความสำคัญวันประสูติของพระเยซู
วันที่25 ธันวาคม (ใน ศาสนาคริสต์ตะวันตก) หรือ 7 มกราคม, หรือ 6 หรือ 19 มกราคม[3][4][5]
การถือปฏิบัติการเข้าร่วมพิธีในโบสถ์, การให้ของขวัญ, การพบปะกันระหว่างครอบครัว, การตกแต่งเป็นสัญลักษณ์
ส่วนเกี่ยวข้องเทศกาลพระคริสตสมภพคืนก่อนวันคริสต์มาส,เทศกาลเตรียมการรับเสด็จแม่พระรับสารวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ล้างบาปของพระเจ้าNativity FastการประสูติของพระเยซูYule
คริสต์มาส (อังกฤษChristmasอังกฤษโบราณCrīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระคริสตสมภพ(อังกฤษFeast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู[6][7] มักจัดวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันหยุดทางศาสนาและวัฒนธรรมโดยประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลก วันดังกล่าวเน้นปีพิธีกรรมของคริสต์ศาสนิกชนเป็นสำคัญ วันคริสต์มาสเป็นวันปิดเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ(Advent) และวันเริ่มต้นเทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) สิบสองวัน[8] คริสต์มาสเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศทั่วโลก และมีผู้ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนิกชนหันมาเฉลิมฉลองกันมากขึ้น[1][9][10] และเป็นส่วนสำคัญในคริสต์มาสและฤดูวันหยุด
วันที่พระเยซูประสูติจริง ๆ นั้นไม่เป็นที่ทราบชัด แต่นักประวัติศาสตร์คะเนไว้ว่าราว 2 ปีก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 7[11] ในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4ศาสนาคริสต์ตะวันตกกำหนดวันคริสต์มาสครั้งแรกไว้ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งต่อมาศาสนาคริสต์ตะวันออกได้รับวันดังกล่าวไปด้วย[12][13] มีการพัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายว่าทางเลือกนั้น รวมถึงเป็นวันเก้าเดือนพอดีหลังคริสต์ศาสนิกชนเฉลิมฉลองวันแม่พระรับสาร[14] หรือถูกเลือกให้ตรงกับวันเหมายันของโรมัน[15] หรือเทศกาลฤดูหนาวเพเกินโบราณเพื่อยุติการเฉลิมฉลองเหล่านี้และแทนที่ด้วยการฉลองของคริสเตียน[14][16]
วันการเฉลิมฉลองในศาสนาคริสต์ตะวันออกแต่เดิม คือ วันที่ 6 มกราคม โดยเชื่อมโยงกับวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ และในปัจจุบัน วันดังกล่าวยังคงเป็นวันเฉลิมฉลองสำหรับคริสตจักรอาร์เมเนียอะโพสโตลิกและในประเทศอาร์เมเนีย ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จนถึง ค.ศ. 2011 ระหว่างปฏิทินเกรโกเรียนสมัยใหม่และปฏิทินจูเลียนที่เก่ากว่า มีวันที่ต่างกันอยู่ 13 วัน ผู้ที่ยังใช้ปฏิทินจูเลียนหรือเทียบเท่าต่อไปจึงเฉลิมฉลองวันที่ 25 ธันวาคมและ 6 มกราคมโดยประชากรโลกส่วนใหญ่ ในวันที่ 7 มกราคมและ 19 มกราคม ด้วยเหตุนี้ เอธิโอเปีย รัสเซีย ยูเครน มาเซโดเนียและมอลโดวาจึงเฉลิมฉลองคริสต์มาส ทั้งที่เป็นวันสมโภชของคริสต์ศาสนิกชนและที่เป็นวันหยุดราชการ ตามในปฏิทินเกรโกเรียนคือ วันที่ 7 มกราคม
ประเพณีการเฉลิมฉลองอันเป็นที่นิยมที่เหมือนกันในหลายประเทศมีการผสมผสานแนวคิดและกำเนิดก่อนศาสนาคริสต์ สมัยศาสนาคริสต์ และฆราวาส[17] ประเพณีสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมในวันดังกล่าวมีการให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาสและเพลงเทศกาล การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์ มื้อพิเศษ และการจัดแสดงการประดับตกแต่งหลายอย่าง รวมทั้งต้นคริสต์มาส แสงไฟ ฉากการประสูติของพระเยซู มาลัย พวงหรีด มิสเซิลโทและฮอลลี นอกเหนือจากนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและแทนกันได้บ่อยครั้งหลายคน เช่น ซานตาคลอส ฟาเธอร์คริสต์มาส นักบุญนิโคลัส และคริสต์คินด์ เกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็กในเทศกาลคริสต์มาส และต่างมีประเพณีและตำนานเป็นของตนเอง[18] เพราะการให้ของขวัญและอีกหลายส่วนของเทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนและผู้ที่มิใช่ วันคริสต์มาสจึงเป็นเหตุสำคัญและช่วงลดราคาหลักสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคทั่วโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น